สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติ “It's All About the Computer Engineer” สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ครั้งที่ 1 สอนโดยคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค และนักศึกษาของสาขาวิชา จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 21 - 25 เมษายน 2568 ณ ห้องปฏิบัติการประจำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 4 หลักสูตร ดังนี้
หลักสูตรที่ 1 Easy Robot
เนื้อหา การบังคับหุ่นยนต์เบื้องต้น การต่อประสานเซ็นเซอร์กับการทำงานของหุ่นยนต์เบื้องต้น การบังคับหุ่นยต์ตามภาระกิจ
วิทยากร ผศ.ดร. สหพงศ์ สมวงค์
หลักสูตรที่ 2 Unity Low-Code Game Maker
เนื้อหา พื้นฐานการพัฒนาเกมด้วยยูนิตี้ การสร้างเกมแบบ Low Code การบังคับให้วัตถุให้เคลื่อนไหว
วิทยากร ผศ.ดร. กฤษณ์วรา รัตนโอภาส
หลักสูตรที่ 3 Cyber$ecu®ity
เนื้อหา ความมั่นคงไซเบอร์ การเข้ารหัส การถอดรหัส การหาช่องโหว่ การป้องกันช่องโหว่
วิทยากร รศ.ดร. แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะ ผศ. ธัชชัย เอ้งฉ้วน ดร.ธนาธิป ลิ่มนา นายรุ่งโรจน์ แซ๋จุ้ง นายพิพัฒน์ พิพิธพัฒนพงศ์
หลักสูตรที่ 4 Introduction to Python Programming
เนื้อหา การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพธอน เงื่อนไข ทางเลือก วงวน อัลกอริทึม
วิทยากร อ.เสกสรรค์ สุวรรณมณี
หลักสูตรที่ 5 Introduction to Prompt Engineer and Generative AI
เนื้อหา เอไอ การสื่อสารกับระบบปัญญาประดิษฐ์ ระบบปัญญาประดิษฐ์ด้านการสร้างข้อมูล การใช้ประโยชน์ ผลกระทบ
วิทยากร ดร.อนันท์ ชกสุริวงศ์
ทั้งนี้ นักศึกษาจากหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และหลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ เป็นผู้ช่วยสอนและจัดกิจกรรมสัมพันธ์ โดยมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 74 คน
หลักการและเหตุผล
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีภารกิจจัดการศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ให้มีมาตรฐานระดับสากลโดยมาตรฐานการศึกษา AUN-QA และ ABET เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ที่ต้องการศึกษาในหลักสูตรที่สาขาวิชาได้ดำเนินการในปัจจุบัน สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จึงมีความประสงค์เปิดโอกาสให้นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเปิดประสบการณ์เกี่ยวกับสายอาชีพภายในหลักสูตรฯ บรรยากาศการเรียนการสอน ห้องเรียนหรือห้องปฏิบัติติการต่างๆ ผ่านเนื้อหารายวิชาในหลักสูตร และลงมือปฏิบัติติการ ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ของสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ก่อนที่นักเรียนจะต้องตัดสินใจเลือกสาขาวิชาเพื่อเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
- เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
- รับฟังข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและทบทวนประกาศฯ
- ส่งเสริมให้หน่วยงานรัฐและโครงสร้างพื้นฐานสำคัญมีความพร้อมรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์
- สร้างความสอดคล้องกับกฎหมาย เพิ่มขีดความสามารถด้านการควบคุมความปลอดภัยไซเบอร์




นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ร่วมจัดงานค่ายหล่อ(ว์)เกียร์ INTANIA ครั้งที่ 11 ในระหว่างวันที่ 1 - 7 เดือนเมษายน พ.ศ. 2568 ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
โดยค่ายดังกล่าวรับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ สายอาชีวะหรือเทียบเท่า จำนวน 150 คน เพื่อเยี่ยมชมสาขาวิชาต่าง ๆ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์
Exclusive Class Plus+
กิจกรรมพัฒนาทักษะ Soft Skills ที่จำเป็นสำหรับการศึกษาต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เช่น ทักษะการสื่อสาร (Communication), ภาวะผู้นำ (Leadership), การทำงานเป็นทีม (Teamwork), (Problem solving) และอื่นๆ อีกมากมาย ที่ถ่ายทอดผ่านกิจกรรม 5 บทเรียน
- Intro to ENG PSU
- Ice-cream wooden bridge
- Engineering Innovation Standard
- Drama and Problem
- TPAT3
Ultimate Simulation Class
กิจกรรมค้นหาตัวเองกับรายวิชาเฉพาะทางวิศวกรรม สัมผัสบรรยากาศการเรียนการสอนจริงภายในคณะ
- Basic Drawing
- Basic Python
- Basic Embedded System
รายละเอียด : https://www.camphub.in.th/lgi-camp-11/
รศ.ดร.พิชญา ตัณฑัยย์ เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยร่วมงาน Alibaba Cloud Onwards Summit 2025 โดยนำเสนอรายงานด้าน Sustainability และรับรางวัล AI Role Model University of the Year ในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2568 ณ โรงแรม Pan Pacific Orchard ประเทศสิงคโปร์
ในปีนี้มี 3 มหาวิทยาลัย จาก 3 ประเทศ รวม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ได้รับรางวัล AI Role Model University of the Year เนื่องจากได้ร่วมกับทางอาลีบาบาพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์แก่นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยจนได้รับประกาศนียบัตรที่เกี่ยวข้องมีจำนวนเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ อันเป็นผลมาจากการลงนามความร่วมมือ (MOU) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา
รศ.ดร.พิชญา ตัณฑัยย์ ได้นำเสนอรายงานด้าน PSU Carbon Credit Management จากข้อมูลของคณะกรรมการ Working Group on Carbon Neutrality and Net Zero Greenhouse Gas Emission ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งมี รศ.ดร.จรงคพันธ์ มุสิกะวงศ์ จากสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นประธาน ใน Breakout Session: Towards AI Driven, Easily Implementable ESG (Environmental/Social/Governance) ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้อง The Chairman's Lounge ชั้น 3 ในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลา 15.00-17.00 น.
Breakout Session: Towards AI Driven, Easily Implementable ESG
ผู้ร่วมงานจากประเทศไทย จาก Alibaba Cloud Academy Thailand, สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รางวัล AI Role Model University of the Year 2025
Certified Ethical Hacker (CEH)
การสอบใบรับรอง Certified Ethical Hacker (CEH)
ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญต่างๆ ที่ครอบคลุมความรู้พื้นฐานจนถึงระดับสูงเกี่ยวกับการเจาะระบบและการป้องกันเครือข่าย หัวข้อที่ผู้เรียนจะได้ศึกษา ได้แก่
1. Footprinting and Reconnaissance การเก็บข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเป้าหมายที่ต้องการเจาะระบบ เช่น การใช้เครื่องมือสแกนเน็ตเวิร์ก การวิเคราะห์เว็บไซต์ และการค้นหาข้อมูลผ่านเครื่องมือ Open Source Intelligence (OSINT)
2. Scanning Networks การสแกนเครือข่ายเพื่อหาช่องโหว่และจุดอ่อน รวมถึงการใช้เทคนิค Port Scanning, Vulnerability Scanning และ Network Mapping เพื่อเตรียมการเจาะระบบ
3. Gaining Access การเจาะเข้าสู่ระบบหรือเครือข่ายโดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การใช้ Brute Force, Password Cracking, และ Exploitation Techniques
4. Maintaining Access การรักษาการเข้าถึงระบบที่เจาะเข้าไปได้ เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น การเก็บข้อมูลหรือการใช้ระบบเป็นฐานในการเจาะระบบอื่น ๆ
5. Covering Tracks การลบหลักฐานการเจาะระบบเพื่อไม่ให้เจ้าของระบบตรวจพบการกระทำที่เกิดขึ้น รวมถึงการใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การลบ Log Files และการใช้ Rootkit
6. Malware Threats การศึกษาประเภทของมัลแวร์ต่างๆ เช่น ไวรัส, โทรจัน, เวิร์ม และ ransomware รวมถึงวิธีการป้องกันและกำจัดมัลแวร์เหล่านี้
7. Sniffing การใช้เทคนิค Sniffing เพื่อดักข้อมูลที่ส่งผ่านในเครือข่าย เช่น การใช้โปรแกรม Wireshark และ Tcpdump
8. Social Engineering การศึกษาและทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้โจมตีใช้ในการหลอกลวงผู้ใช้ให้เปิดเผยข้อมูลสำคัญหรือทำตามคำขอที่เป็นอันตราย
9. Denial-of-Service (DoS) and Distributed Denial-of-Service (DDoS) Attacks การป้องกันและตอบสนองต่อการโจมตี DoS และ DDoS ที่มุ่งเป้าหมายในการทำให้ระบบไม่สามารถให้บริการได้
10. Web Application Hacking การเจาะระบบเว็บแอปพลิเคชันและการป้องกันการโจมตี เช่น SQL Injection, Cross-Site Scripting (XSS), และ Cross-Site Request Forgery (CSRF)
ประโยชน์ของการมีใบรับรอง Certified Ethical Hacker (CEH)
1. เพิ่มโอกาสในการทำงานและความก้าวหน้าในสายงานความปลอดภัยไซเบอร์ การมีใบรับรอง Certified Ethical Hacker (CEH) ช่วยเพิ่มโอกาสในการทำงานในตำแหน่งที่ต้องการทักษะเฉพาะทาง เช่น Penetration Tester, Security Analyst, หรือ Cybersecurity Consultant
2. ยืนยันทักษะและความสามารถในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ใบรับรอง CEH ยืนยันว่าผู้ถือใบรับรองมีความรู้ความสามารถในการระบุและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งเป็นทักษะที่มีความต้องการสูงในตลาดงานปัจจุบัน
3. พัฒนาทักษะใหม่และเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยไซเบอร์ การเรียนรู้ในหลักสูตร CEH ช่วยให้ผู้ถือใบรับรองสามารถเข้าใจและป้องกันภัยคุกคามที่มีความซับซ้อนและการโจมตีที่มีการพัฒนาอยู่ตลอด
4. สร้างเครือข่ายและโอกาสในการเรียนรู้ร่วมกัน การเข้าร่วมกลุ่มผู้ถือใบรับรอง CEH ช่วยให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญในวงการความปลอดภัยไซเบอร์
ผศ.ดร.วชรินทร์ แก้วอภิชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับคัดเลือกเป็นอาจารย์ตัวอย่างดีเด่น ด้านกิจการนักศึกษา ระดับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปี 2567
ทั้งนี้ เนื่องจากอาจารย์มีบทบาทสำคัญในการอุทิศตนและผลักดันทั้งในด้านวิชาการและกิจกรรมนักศึกษาให้กับทีม Formula 1 ชื่อทีม "ลูกพระบิดา" ของของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ต่ำกว่า 10 ปี จนกระทั่งประสบความสำเร็จได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศในปี 2566 ที่ผ่านมา
ผศ.ดร.วชรินทร์ แก้วอภิชัย เข้ารับพระราชทานรางวัล จาก ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2567 ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเข้ารับรางวัลในงาน "คุณค่าสงขลานครินทร์ ประจำปี 2568" (PRIDE of PSU 2025) จากอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผศ.ดร. นิวัติ แก้วประดับ ในวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2568 วันคล้ายวันสถาปนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อ่านเพิ่มเติมคำสดุดีเกียรติคุณและข้อเขียนเกี่ยวกับรางวัลนี้ของอาจารย์ได้ที่หอประวัติ