รายชื่อสมาชิกทีม AI Rebar Auto Vision
Prof. Dr. Thi Thi Zin จาก Information and Communication Technology Program, Faculty of Engineering, Miyazaki University เยี่ยมชมสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และประชุมชี้แจงเรื่องนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ JST Sakura Science Program ณ ห้อง 265 อาคาร 2 คณะทรัพยากรธรรมชาติ ใน วันที่ 14 สิงหาคม 2567 ซึ่งจะมีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าร่วม 4 คน เป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอก 2 คน และ ระดับปริญญาโท 2 คน จากคณะทรัพยากรธรรมชาติและคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยมี ผศ.ดร.ชุติมา ตันติกิตติ จากสาขาวิชาวาริชศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ เป็นผู้ประสานงานหลัก
นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่เข้าร่วมโครงการ Japan-Asia Youth Exchange Program in Science หรือ JST (Japan Science and Technology) Sakura Science Program จะเดินทางไปนำเสนอผลงานทางวิชาการ ในงานประชุมทางวิชาการ The 16th International Conference Genetic and Evolutionary Computing (ICGEC-2024) ในวันที่ 28-29 สิงหาคม 2567
ในงานนี้มีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว จำนวน 4 คน โดยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาเ
และเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการที่ Miyazaki University ประเทศญี่ปุ่นในระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม 2567 - 3 กันยายน 2567
- ระดับปริญญาโท นายธีร์ธวัช สวาสดิ์ธรรม
- ระดับปริญญาเอก นายเตาฟีก หลำสุบ
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ร่วมร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยเป็นหน่วยประสานงานระดับภูมิภาค จัดการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 26 (The 26th National Software Contest) หรือที่รู้จักกันในนาม NSC 2024 ภาคใต้ รอบ 2 ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 ที่ลานใต้ตึกหุ่นยนต์
โดยมีนักเรียนและนักศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ ทั่วภาคใต้ เข้าร่วมการแข่งขัน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในระดับ นักเรียน นิสิตและนักศึกษา
2. เพื่อพัฒนาทักษะความคิดริเริ่มในการเขียนโปรแกรมอันจะเป็น รากฐาน ที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านซอฟต์แวร์ในอนาคต
3. เพื่อสร้างและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถทางด้านการ พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้สามารถเกิดประโยชน์ในการนำไปใช้ต่อไป
4. เพื่อสร้างเวทีการแข่งขันและสร้างความสนใจสำหรับเยาวชนที่มีความ สามารถด้านคอมพิวเตอร์และเทคนิคการเขียนโปรแกรม
5. เพื่อให้ได้ซอฟต์แวร์ต้นแบบที่หลากหลาย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
เป้าหมาย
1. สร้างเวทีการแข่งขันด้านซอฟต์แวร์ระดับเยาวชนและระดับชาติ ตลอดจนนำผลงานไปสู่เชิงพาณิชย์และสังคมต่อไป
2. สร้างโอกาสและสนับสนุนนักพัฒนาโปรแกรมที่มีความรู้ความสามารถและทักษะที่จะพัฒนาไปสู่นักเขียนโปรแกรมมืออาชีพต่อไป
3. สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาและการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย
หัวข้อการแข่งขัน
ระดับนิสิต นักศึกษา
หมวด 11 โปรแกรมเพื่อความบันเทิง
หมวด 12 โปรแกรมเพื่อส่งเสริมทักษะ การเรียนรู้
หมวด 13 โปรแกรมเพื่อสุขภาพ คนพิการ และผู้สูงอายุ
หมวด 14 โปรแกรมเพื่องานการ พัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
ระดับนักเรียน
หมวด 21 โปรแกรมเพื่อความบันเทิง
หมวด 22 โปรแกรมเพื่อส่งเสริมทักษะ การเรียนรู้
หมวด 23 โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ ใช้งาน
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแข่งขันได้ที่นี่
- การลดจํานวนครั้งของการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ลง โดยการแบ่งกลุ่มของข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อที่จะให้ข้อมูลผลลัพธ์ที่ คํานวณเสร็จสิ้นนั้นสามารถถูกนํามาใช้ซํ้าได้โดยมิต้องคํานวณใหม่ในเส้นภาพบรรทัดถัดไป เมื่อจํานวนโอเปอเรชันทาง คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้ลดลง จึงสามารถเพิ่มความเร็วในการ ประมวลผลได้ อีกทั้งยังต้องการพลังงานในการประมวลผลที่ลดลงอีกด้วย
- การนําข้อมูลเข่ามาประมวลผลในซีพียูทีละหลาย ๆ ชุดด้วยชุดคําสั่งประมวลผลแบบเวกเตอร์ หรือชุดคําสั่ง AVX ซึ่งช่วยให้การคํานวณเสร็จเร็วขึ้นกว่าการคํานวณทีละข้อมูล
- เผยแพร่ในวารสารวิชาการ
- เผยแพร่ในงานประชุมวิชาการ
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ กิจกรรม ม.อ.วิชาการประจำปี 2567 ในวันที่ 8-9 สิงหาคม 2567 ณ ตึกหุ่นยนต์และตึกสิรินธร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
โดยภายในงานมีการแข่งขัน ดังนี้
1. การแข่งขันการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
จัดโดย อาจารย์ อ.เสกสรรค์ สุวรรณมณี อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คุณวิมล คำจันทร์ และทีมงานนักศึกษาสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 11 คน
มีนักเรียนเข้าร่วม 16 ทีม จาก 12 โรงเรียน จาก 6 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ยะลา สตูล กระบี่ สุราษฎร์ธานี และชุมพร ทีมละ 3 คน รวม 48 คน และคุณครู 12 คน
การแข่งขัน
ในการแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับ มัธยมศึกษา ใช้ภาษา Python และ C/C++ ในการเขียนโปรแกรม ฝึกทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเขียนโปรแกรมเพื่อแก้โจทย์ปัญหาที่ได้รับ ภายในเวลาของการแข่งขัน 2 ชั่วโมง จากโจทย์ปัญหา 6 ข้อ
กำหนดการ
- 09.00-09.50 น. ซ้อมและทดสอบระบบแข่งขัน ห้อง COMP1
- 10.00-12.00 น. แข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (2 ชั่วโมง) ห้อง COMP1
- 13.00 น. ประกาศผล มอบรางวัล ลานใต้ตึกหุ่นยนต์
ภาพการแข่งขัน
ผลการแข่งขัน
ทีมที่ชนะเลิศ ได้แก่ ทีมจากโรงเรียนพัฒนาวิทยา จ. ยะลา ทีมอันดับสอง ได้แก่ ทีมจากโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จ. ยะลา และทีมอันดับที่สาม ได้แก่ ทีมจากโรงเรียนสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี
ทีมอันดับที่ 1-3 สามารถแก้โจทย์ปัญหาได้ครบทั้ง 6 ข้อ และทีมที่อันดับ 4-5 จากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย และ โรงเรียนแสงทองวิทยา จังหวัดสงขลา ทำโจทย์ได้ 5 ข้อ ได้รับรางวัลชมเชย
สรุปรางวัล
โรงเรียน |
ทีม |
สมาชิก |
อันดับ/รางวัล |
โรงเรียนพัฒนาวิทยา |
ggwp.cpp |
นายอุสมาน ยูโซะ นายอัฟฮัม ขวัญคาวิน นายอัชรอฟ วงศ์ปราณี |
รางวัลที่ 1 (3,000.-)
|
โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง |
Johan Libert |
นายเดชาธร จิตนาธรรม นายณัฐวรรธน์ วรรัตนานุรักษ์ นายฟาอิฟ เจ๊ะมาด |
รางวัลที่ 2 (2,000.-) |
โรงเรียนสุราษฎร์ธานี จ. สุราษฎร์ธานี |
PLAN |
นายศุภณัฐ ธนาพล นางสาวญาณิศา ขวัญใจสกุล นางสาวอรวรา สาริพัฒน์ |
รางวัลที่ 3 (1,000.-) |
โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย |
The mimic |
นางสาวอาภาพิชญ์ พรหมหิตาทร นายปิยังกูร ล้อประเสริฐกุล นางสาวณัฐนันท์ วรรละออ |
4. รางวัลชมเชย (500.-)
|
โรงเรียนแสงทองวิทยา |
i_paranz_sme |
นายบัณฑิตย์ ศิริพิทยา นายคณพศ เพชรมณี นายอภิวิชญ์ ส่งศรี |
5. รางวัลชมเชย (500.-) |
2. การแข่งขันพัฒนาเกม CoE@PSU Game Jam
จัดโดย ผศ.ดร.กฤษณ์วรา รัตนโอภาส อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และทีมงานนักศึกษาสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ร่วมกับคุณสิทธิชัย เหล่าวีระสกุล จาก Hamster Hub ศิษย์เก่า วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
มีทีมนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันทั้งแบบ onsite และ online ผ่าน Discord รวมทั้งสิ้น 15 ทีม จากทั่วประเทศ จังหวัดที่มีนักเรียนเข้าร่วมได้แก่ กรุงเทพ ปทุมธานี นครปฐม นครสวรรค์ นครนายก สงขลา สตูล พัทลุง สุราษฎร์ธานี เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง พิษณุโลก สระแก้ว ยโสธร
รายนามกรรมการผู้ตัดสิน: คุณสิทธิชัย เหล่าวีระสกุล ดร.อนันท์ ชกสุริวงศ์ รศ.ดร.พิชญา ตัณฑัยย์
กำหนดการ
- 09.00-12.00 ทีมต่าง ๆ นำเสนอเกมที่พัฒนาขึ้น ห้องประชุมสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- 13.00 น. ประกาศผล แบบออนไลน์
ภาพการแข่งขัน
ผลการแข่งขัน
รายนามผู้ได้รับรางวัล
- รางวัลชนะเลิศ ทีม Tea party จาก โรงเรียนเเสงทองวิทยา
- นาย มีเสพสุข เเก้วรัตนา
- นาย ปัณณวิชย์ จันทร์จักโข
- นาย กุลธวัช บุณยพิพัฒน์
- นาย ธีสวัฒน์ สุขคณา
- นาย ศิราเมษฐ์ สิทธรจิรานันท์
- นาย ธนทัต พฤกษ์รัตนนภา
- นาย ทักษณัฎฐ์ หงส์อัครพันธุ์
- นาย ชิตณุพงศ์ ศุภรทวี
- นาย จิรพนธ์ เพ็ชรสุวรรณ์
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม ปิกาจูใส่ไข่ดาว จาก โรงเรียนสะเดา "ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์"
- นาย ธีรยุทธ ศิริ
- นาย อภิชาติ จะหย่อ
- นางสาว ธิดารัตน์ จันทร์แก้ว
- นางสาว รินรดี โต๊ะกา
- เด็กหญิง นิจิตตา พิพัฒน์นิธิกุลชัยเด็กหญิง ยูนิกซ์ ปาลาเร่
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม ปลาหมึกเป่าปี่ขี่แซกโซโฟน
- นางสาว ปิยพิชญ์ พุ่มทอง
- รางวัลชมเชย ทีม BloxJammer
- เด็กชาย จิณณ์ ยศสุนทร โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)
- เด็กชาย วีรากร โพนทัน โรงเรียนบ้านหนองเมืองกลาง
- เด็กชาย ภัทรชนน เชิบรัมย์ โรงเรียนบ้านเขาพรมสุวรรณ
- เด็กชาย ภูวดล ปันชัย โรงเรียนสายอักษร
- เด็กชาย กิตติศักดิ์ ศรีสาตร์ โรงเรียนบางกลางท่าวพิทยาคม
- ชมเชย ทีม Lychee
- นาย ธนวัต วงศ์วาสน์ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
- นาย วัชชิรพงษ์ ธนโชติคณาทิวัตถ์ โรงเรียนสารสาสน์วิเทศรังสิต
- นาย ณัฐพัชร์ ปิยกาญจน์ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม)
- นาย ชนกันต์ หล่อสุวรรณศิริ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- ชมเชย ทีม TheSimp
- นาย ภัทรนันท์ เศรษฐภัดดี โรงเรียนจิตรลดา
3. การแข่งขันพัฒนาเกม CoE@PSU Capture The Flag (CTF)
จัดโดย ผศ.ดร.กฤษณ์วรา รัตนโอภาส อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และทีมงานนักศึกษาสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
การแข่งขัน Capture The Flag (CTF) เป็นการแข่งขันด้านความปลอดภัยเชิงข้อมูลที่มีกิจกรรมท้าทายให้แก้ปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การค้นหาข้อมูลจากเว็บ การขโมยข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ เพื่อหาชิ้นส่วนข้อมูลจากเว็บหรือเซิร์ฟเวอร์
ลักษณะการแข่งขันของ Capture The Flag (CTF) คือ ค้นหาคำตอบหรือธง (Flag) ที่ซ่อนอยู่ในโจทย์ต่าง ๆ ทั้งเหตุการณ์ Attack และ Defense โดยที่ผู้เข้าแข่งขันต้องดำเนินการหาธงที่ซ่อนอยู่ออกมาจากไฟล์ โปรแกรม หรือชุดข้อมูล ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น Crack Password, Reverse engineering, Web Application Hacking เพื่อให้กรรมการตรวจสอบความถูกต้อง โดยการแข่งขันลักษณะนี้มุ่งส่งเสริมให้ผู้เข้าแข่งขันนำความรู้ทางด้าน Cybersecurity ในการแก้โจทย์ต่างๆ โดยแต่ละข้อเป็นการสร้างโจทย์ให้เสมือนสถานการณ์จริง แต่ลดความซับซ้อนเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและสามารถทำการโจมตี หรือวิเคราะห์ได้ภายในเวลาที่กำหนดได้
มีนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขัน 7 ทีม จำนวน 19 คน จาก 10 โรงเรียน 5 จังหวัด คือ พัทลุง สงขลา สุราษฎร์ธานี ลำปาง พะเยา ทั้งออนไซต์และออนไลน์ โดยใช้แพลตฟอร์มการแข่งขันที่สาขาวิชาได้ดำเนินการพัฒนาขึ้นมาเอง
กำหนดการ
- 09.00-12.00 ทีมต่าง ๆ เข้าร่วมการแข่งขัน ณ ห้องประชุมสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- 13.00 น. ประกาศผลารแข่งขัน
ภาพการแข่งขัน
ผลการแข่งขัน
มีผลการแข่งขันดังต่อไปนี้
- รางวัลชนะเลิศ ทีม H47Y41_G01N73r
- ไลย์ ประดิษฐ์ มอ. วิทยานุสรณ์
- เบญญาภา ขวัญแก้ว หาดใหญ่วิทยาลัย
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม w,ji^h
- พชรพล นิลคง โรงเรียนลำปางกัลยาณี
- ธนดล สีโสดา โรงเรียนลำปางกัลยาณี
- ก้องภพ เกียรติศักดิ์กำจาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม Find The Flag
- ชัยพร รัชนีย์ โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา
- กีรติ นาคมาศ โรงเรียนทีปราษฎร์พิทยา
- วรรณชัย คงนุกูล โรงเรียนเกาะสมุย
- รางวัลชมเชย ทีม อ่างหนูเสือ
- เดชพงศ์ พรมพินิจ หาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา
- ภูริเดช ตะวันออก หาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา
- สิริพงศ์ ทองเลียบ หาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา
กิจกรรมแนะนำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
กิจกรรม CoE Open House จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 8-9 สิงหาคม พ.ศ. 2567 โดย รศ.ดร.ปัญญยศ ไชยกาฬ ผศ.ดร.กฤษณ์วรา รัตนโอภาส ประธานหลักสูตร ตรี โท เอก สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ตุณอนุชา รัตนะ คุณไพบูลย์ คุณอนันต์ นิลโกสีย์ คุณพิพัฒน์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคของสาขาวิชา และทีมนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
ผศ.ดร.วชรินทร์ แก้วอภิชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับคัดเลือกเป็นอาจารย์ตัวอย่างดีเด่น ด้านกิจการนักศึกษา ระดับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปี 2566
ทั้งนี้ เนื่องจากอาจารย์มีบทบาทสำคัญในการอุทิศตนและผลักดันทั้งในด้านวิชาการและกิจกรรมนักศึกษาให้กับทีม Formula 1 ชื่อทีม "ลูกพระบิดา" ของของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ต่ำกว่า 10 ปี จนกระทั่งประสบความสำเร็จได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศในปี 2566 ที่ผ่านมา
โดยเข้ารับพระราชทานรางวัล จาก ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2567 ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อ่านเพิ่มเติมคำสดุดีเกียรติคุณและข้อเขียนเกี่ยวกับรางวัลนี้ของอาจารย์ได้ที่หอประวัติ