เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จัดนำเสนอชิ้นงาน รายวิชา 240-319 ชุดวิชานักพัฒนาระบบฝังตัว EMBEDDED SYS DEVELOP MODULE 9((6)-6-15) หน่วยกิต โดยมีนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ลงทะเบียนเรียนำนวน 37 คน ได้แบ่งกลุ่มนำเสนอโครงงานย่อย ณ อาคารเรียนรวมและปฏิบัติการรวม (ตึกหุ่นยนต์) สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลาครินทร์
ชุดวิชานักพัฒนาระบบฝังตัวนี้ เป็นชุดวิชาที่ไม่เพียงแต่การสอนในภาคทฤษฎี แต่มุ่งเน้นให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ จนสามารถนำความรู้สร้างโครงงานย่อย ที่ในการนำเสนอ ต้องสามารถนำเสนอทั้งด้านเทคนิค การตอบโจทย์ แก้ไขปัญหา การพัฒนาต่อยอด หรือเพื่อการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นต่อไป นักศึกษาที่ศึกษาในรายวิชานี้จะได้รับความรู้ด้านเทคโนโลยีระบบฝังตัว ฮาร์ดแวร์ระบบฝังตัว ซอฟต์แวร์ระบบฝังตัว ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ใช้งานในระบบฝังตัว โปรแกรมฝังตัว การประมวลผลแบบพลังงานตํ่า การออกแบบระบบเชื่อถือได้ ระเบียบวิธีการและการออกแบบ เครือข่ายระบบฝังตัว การเชื่อมต่อและระบบสัญญาณแบบผสม การออกแบบวงจรดิจิทัลไมโครอิเล็กทรอนิกส์การเป็นผู้ประกอบการ ระบบเวลาจริงและการเขียนโปรแกรม โจทย์และปัญหาจริงในกลุ่มเกษตร กลุ่มอาหารและสุขภาพ และเมืองอัจฉริยะ เป็นต้น
อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา รศ.ดร.ทวีศักดิ์ เรืองพีระกุล และ รศ.ดร.ปัญญยศ ไชยกาฬ และ ผศ.ดร.วชรินทร์ แก้วอภิชัย
ดูวิดีโอได้ที่ vlog
นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ผ่านเข้ารอบคัดเลือก (online) ระดับอุดมศึกษาในการแข่งขัน Thailand Cyber Top Talent 2024 โดย นายสิรวิชญ์ ลอยวิรัตน์ นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 1 มีคะแนน เป็นอันดับ 1 ประเภทบุคคล และประเภททีม นายสิรวิชญ์ ลอยวิรัตน์ ร่วมกับ นายสรวิศ สุขการณ์ ชื่อทีม S1EEP มีคะแนน เป็น อันดับ 3 โดยมีทีมจากผู้เข้าแข่งขันรอบคัดเลือกทั่วประเทศรวม 353 ทีม
การแข่งขัน รอบคัดเลือก จัดขึ้นเมื่อ วันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา ทีมจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 2 ทีม คือ ทีม S1EEP และ ทีม คิดยากจังเลยยยยยยยยย ผ่านรอบคัดเลือก เป็นตัวแทนภาคใต้ ระดับอุดมศึกษา เข้าไปแช่งขันรอบรอบชิงชนะเลิศ (onsite) ในวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2567 นี้
สมาชิกของทีมจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีดังนี้
- ทีม S1EEP นายสิรวิชญ์ ลอยวิรัตน์ และ นายสรวิศ สุขการณ์ นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 1
- ทีม คิดยากจังเลยยยยยยยยย นายเชษฐมาส ตั้งสุขสันต์ นายศุภกิตติ์ พรหมดวง และ นางสาวณัฏฐ์ธารณ์ ขวัญหวาน นักศึกษาหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ ชั้นปีที่ 4
ดู Scoreboard ระดับอุดมศึกษาได้ที่นี่
หน่วยงานจัดการแข่งขัน
Thailand Cyber Top Talent 2024 จัดการแข่งขันโดย สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ร่วมกับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด โดยมุ่งหวังให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่เข้าร่วมการแข่งขันได้ เรียนรู้ พัฒนาทักษะ และประสบการณ์ เพื่อให้กลายเป็นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และเป็นการสร้างแรงงานออกสู่ตลาดแรงงานในอนาคต อีกทั้งเป็นการช่วยเพิ่มความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ให้กับบุคคลทั่วไปมากขึ้น และผู้ที่ได้รางวัลชนะเลิศยังมีสิทธิเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันในรายการ Cyber SEA Game 2024
รูปแบบและกติกาการแข่งขัน
การแข่งขันจะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
ระดับมัธยมศึกษา (Junior)
ระดับอุดมศึกษา (Senior)
ระดับประชาชนทั่วไป (Open)
รูปแบบการแข่งขัน แบ่งเป็น 2 รอบ
- รอบที่ 1 รอบคัดเลือก เป็นการแข่ง Capture the Flag ในรูปแบบ Jeopardy คือผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกโจทย์ในหัวข้อใดทำก่อนก็ได้ คะแนนของโจทย์แต่ละหัวข้อจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระดับความยากง่ายของโจทย์
- รอบที่ 2 รอบชิงชนะเลิศ เป็นการแข่ง Capture the Flag ในรูปแบบ Attack the virtual World คือผู้เข้าแข่งขันต้องหาคำตอบจากเครื่องแม่ข่าย เครื่องผู้ใช้งาน และอุปกรณ์เครือข่ายต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบจำลอง ด้วยการโจมตีจากภายนอก และต้องหาคำตอบจากร่องลอยในเครื่องแม่ข่ายที่ถูกโจมตี
รายละเอียดกติกาการแข่งขัน
รอบคัดเลือก
เป็นการแข่ง Capture the Flag ในรูปแบบ Jeopardy คือผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกโจทย์ในหัวข้อใดทำก่อนก็ได้ คะแนนของโจทย์แต่ละหัวข้อจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระดับความยากง่ายของโจทย์ ในรูปแบบออนไลน์ โดยมีหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
➢ Web Application
➢ Digital Forensic
➢ Reverse Engineering & Pwnable
➢ Network Security
➢ Mobile Security
➢ Programming
➢ Cryptography
เกณฑ์การคัดเลือก
คัดเลือกจากทีมที่ทำคะแนนได้สูงสุดและส่งคำตอบเร็วที่สุดจะได้ผ่านเข้าสู่รอบต่อไป
ระดับมัธยมศึกษา ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 10 ทีม
ระดับอุดมศึกษา ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 10 ทีม
โดยกำหนดโควต้าในในการเข้ารอบแบ่งตามภูมิภาคไว้ดังนี้
➢ กทม. 2 ทีม
➢ ภาคกลางและภาคตะวันออกยกเว้น กทม. 2 ทีม
➢ ภาคเหนือ 2 ทีม
➢ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ทีม
➢ ภาคใต้ 2 ทีม
ระดับประชาชนทั่วไปไม่กำหนดภูมิภาค จำนวน 10 ทีม
รวมจำนวนทีมทั้งทั้ง 3 ระดับ ที่จะผ่านเข้ารอบทั้งสิ้น 30 ทีม
โดยรอบชิงชนะเลิศ จะจัดขึ้นใน
วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม 2567 เวลา 09:00 – 16:00 น. (รวมเวลา 7 ชั่วโมง)
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) โดยสถาบันวิชาการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ จัดกิจกรรม NCSA CTF Boot Camp 2024 รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 7-8 กันยายน 2567 ณ โรงแรมเดอะริช จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้กิจกรรมจัดการแข่งขันทักษะทางไซเบอร์ (Cyber Top Talent) เพื่อยกระดับความสามารถของบุคลากรไทย ระดับมัธยมศึกษา อุดมศึกษา และประชาชนทั่วไป และสร้างความตระหนักรู้ทางความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity Awareness) ผ่านค่ายกิจกรรม ในรูปแบบ Capture The Flag (CTF) ซึ่งเป็นการแข่งขันด้านความปลอดภัยเชิงข้อมูลที่มีกิจกรรมท้าทายให้แก้ปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การค้นหาข้อมูลจากเว็บ การขโมยข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ เพื่อหาชิ้นส่วนข้อมูลจากเว็บหรือเซิร์ฟเวอร์
นายสิรวิชญ์ ลอยวิรัตน์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้สมัครและผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมอบรมและการแข่งขันในรอบนี้ และมีผู้เข้าร่วมจำนวน 93 คน จากทั่วประเทศ และ ขอแสดงความยินดีกับ นายสิรวิชญ์ ลอยวิรัตน์ ที่ได้คว้าเหรียญทองชนะเลิศจากการแข่งขัน NCSA CTF Boot Camp 2024 ในรอบนี้ได้สำเร็จโดยทำคะแนนสูงสุดทั้งระดับทีม และระดับบุคคล
ภายใต้กิจกรรมการฝึกอบรมของค่าย NCSA CTF Boot Camp 2024 นี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการฝึกอบรมทั้งความรู้และทักษะด้าน Cyber Security เช่น ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Capture The Flag (CTF) ความรู้พื้นฐานและฝึกปฏิบัติตามหัวข้อโจทย์การแข่งขัน Web application, Digital Forensic, และ Network and Mobile Security ซึ่งเป็นพื้นฐานและแนวทางสาขาอาชีพด้านความมั่นปลอดภัยไซเบอร์
Websites : https://ctf.in.th/ncsactfbootcamp2024/ , https://www.facebook.com/THNCAbyNCSA
ระหว่างวันที่ 7-8 กันยายน 2567 มีการจัดการแข่งขันเขียนโปรแกรมระดับประเทศไทย ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร มีทีมนักศึกษาจากทั่วประเทศ ผ่านเข้าแข่งขันรวมทั้งสิ้น 56 ทีม จาก 21 สถาบันการศึกษาทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ อาทิ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่และวิทยาเขตภูเก็ต เป็นต้น โดยสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมแข่งขันเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 3 ทีม ทีมละ 3 คน โดยมีอาจารย์เสกสรรค์ สุวรรณมณี เป็นผู้ควบคุมทีม
กิจกรรมการแข่งขันในวันแรกหลังจากลงทะเบียนและพิธีเปิดการแข่งขัน มีการซ้อมและทดลองระบบแข่งขัน จากนั้นในวันที่ 8 กันยายน 2567 เป็นการแข่งขันเขียนโปรแกรมเป็นระยะเวลา 5 ชั่วโมงเต็ม มีโจทย์ปัญหา 14 ข้อ ทุกทีมเขียนโปรแกรมโดยเลือกใช้ภาษาโปรแกรม เช่น C/C++, Python, Java หรือ Kotlin เขียนโปรแกรมเพื่อแก้โจทย์ปัญหาให้ผ่านภายในเวลาที่กำหนด
ผลการแข่งขัน มีทีมแก้ปัญหาได้สูงสุดจำนวน 8 ข้อ และมีการจัดอันดับคะแนนตามจำนวนข้อที่ทำได้และเวลาที่ใช้ ผลลำดับการแข่งขันได้ประกาศดังตารางอันดับการแข่งขันนี้ (https://icpc-2024.cp.eng.chula.ac.th/contest/scoreboard )
รางวัลที่ 1 (เงินรางวัล 25,000 บาท) : ทีม 998244353 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำได้ 8 ข้อ [อันดับ 1]
รางวัลที่ 2 (เงินรางวัล 20,000 บาท) : ทีม Hmm :// จากมหาวิทยาลัยหอการค้า ทำได้ 4 ข้อ [อันดับ 5]
รางวัลที่ 3 (เงินรางวัล 15,000 บาท) : ทีม La Casa จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ทำได้ 4 ข้อ [อันดับ 7]
ทีม PSU-COE-02 ทำโจทย์ได้ 4 ข้อ เช่นกัน ได้อันดับที่ 15 และ ทีม PSU-COE-01 ทำได้ 3 ข้อ ได้อันดับที่ 25 และทีม PSU-COE-03 ทำได้ 1 ข้อ ได้อันดับที่ 44
เวทีการแข่งขันเขียนโปรแกรม International Collegiate Programming Contest (ICPC) เป็นการแข่งขันการแก้ปัญหาโดยเน้นการใช้อัลกอริทึมและทักษะการเขียนโปรแกรมขั้นสูงเพื่อแก้ปัญหาภายใต้สภาวะแวดล้อมที่กำหนด ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีม และการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาได้ การแข่งขัน ICPC ในระดับชาตินี้เป็นการเวทีให้นักศึกษาได้แสดงความสามารถและเตรียมทีมที่มีศักยภาพ สำหรับการแข่งขัน ICPC ในระดับนานาชาติ เพื่อจะคัดทีมเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศระดับโลก หรือ ICPC World Finals ประจำปีต่อไป
ทีมนักศึกษาจากสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 3 ทีม ประกอบด้วยสมาชิกดังนี้
ทีม PSU-CoE-01: นายกรวิทย์ กอหลัง, นายพชรพล ศุกลสกุล และ นายพชรพล เกตุแก้ว
ทีม PSU-CoE-02: นายฟาริก บูรพาภักดี, นายวิลดาน ผิดไรงาม และ นายศรัณยพงศ์ เอี่ยมอนงค์
ทีม PSU-CoE-03: นายธรรมีนา เพ็งชัย, นายเนติวุฒิ เกตุกำพล และ นายปรเมษ แก้วอุบล
อาจารย์ที่ปรึกษา/ผู้ควบคุมทีม (Team Coach) อ. เสกสรรค์ สุวรรณมณี สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร. โกสินทร์ จำนงไทย จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บรรยายในหัวข้อ Machine-Learning-Based System Implementation in Digital Transformation ในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 13.30 - 14.40 น. ณ ห้องประชุมดงยาง 1 และ Zoom Online โดยการบรรยายนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดวิชา 241-353 ชุดวิชาระบบนิเวศปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Ecosystem Module) ซึ่งมีนักศึกษาจากทั้ง 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ลงทะเบียนเรียนในรายวิชานี้
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร. โกสินทร์ จำนงไทย ยังได้เป็นเป็นประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ หัวข้อ Advancements in Digital Pathology for Multi-tissue Histological Images ของนักศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ นายอรรถสุนทร ไตรสุวรรณ ในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 14.45 - 16.30 น. ณ ห้องประชุมสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ R101 อีกด้วย
ในระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม 2567 - 3 กันยายน 2567 นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เข้าร่วมโครงการ Japan-Asia Youth Exchange Program in Science หรือ JST (Japan Science and Technology) Sakura Science Program โดยเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ ณ Miyazaki University ประเทศญี่ปุ่น และนำเสนอผลงานทางวิชาการ ในงานประชุมทางวิชาการ The 16th International Conference Genetic and Evolutionary Computing (ICGEC-2024) ในวันที่ 28 สิงหาคม 2567
ในงานนี้มีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว จำนวน 4 คน โดยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอก 2 คน และ ระดับปริญญาโท 2 คน จากคณะทรัพยากรธรรมชาติและคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผศ.ดร.ชุติมา ตันติกิตติ จากสาขาวิชาวาริชศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ เป็นผู้ประสานงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ Prof. Dr. Thi Thi Zin เป็นผู้ดูแลโครงการ JST Sakura Science Program ของ Miyazaki University
รายนามนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ที่เข้าร่วมโครงการ
- ระดับปริญญาโท นายธีร์ธวัช สวาสดิ์ธรรม
- ระดับปริญญาเอก นายเตาฟีก หลำสุบ
คณะเดินทางจากประเทศไทย
ภาพการนำเสนอผลงาน ณ Miyazaki University
ภาพในงานประชุมทางวิชาการ The 16th International Conference Genetic and Evolutionary Computing (ICGEC-2024) ในวันที่ 28 สิงหาคม 2567
นายเตาฟีก หลำสุบ นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ระดับปริญญาเอก นำเสนอในหัวข้อ A Scalable Architecture for Improving Adaptive Bitrate Streaming Services
นายธีร์ธวัช สวาสดิ์ธรรม นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ระดับปริญญาโท นำเสนอในหัวข้อ Time-Driven Cost Estimation Learning Model
ทัศนศึกษา วันที่ 1 กันยายน 2567
เยี่ยมชมน้ำตกและศาลเจ้า รับประทานอาหาร
เยี่ยมชมฟาร์มปศุสัตว์ ที่ดูแลด้วยระบบ IoT วันที่ 2 กันยายน 2567
ชมระบบฟาร์มและงานวิจัยเกี่ยวกับ image processing ที่ใช้กับการบริการจัดการฟาร์ม
สัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่น วันที่ 2 กันยายน 2567
นำเสนอโปสเตอร์ในกิจกรรมของ Sakura Science Program วันที่ 2 กันยายน 2567