ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดการเรียนการสอน 3 ระดับ ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก ในสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และเพื่อเป็นการประเมินคุณภาพ พัฒนาการเรียนการสอน ทั้ง 3 ระดับ จึงมีการจัดการประเมินเป็นประจำทุกปี และในรอบการประเมินคุณภาพ สำหรับปีการศึกษา 2560   ได้จัดการประเมินคุณภาพภายใน ระดับหลักสูตร (รูปแบบ Site Visit)   ซึ่งหลักสูตรของสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ทั้ง ระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก ได้รับผลการประเมิน "ผ่าน" เกณฑ์การประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตร ตามระบบ CUPT QA โดยคณะกรรมการจากภายในมหาวิทยาลัยฯ ผู้ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์ผู้ประเมิน ระดับหลักสูตร (ขึ้นทะเบียน ทปอ.) ดังนี้

เมื่อวันที่ 30 - 31 สิงหาคม 2561 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มีคณะกรรมการประเมินคุณภาพ ทั้ง 2 หลักสูตร ประกอบด้วย

              - รศ.ดร.วันดี สุทธรังษี

              - ดร.กวินพัฒน์ กานติโสภณ

การบรรยายนี้เป็นการบรรยายโดยศิษย์เก่าพี่อั้ม (Kiatateeti Anusornpakdee) ได้ชวนเพื่อนนักพัฒนาชื่อ iñaki Villar ที่ได้รับการยอมรับให้เป็น GDE (Google Developer Expert) ในด้านการพัฒนา Android ร่วมกับแชร์ความรู้ให้กับรุ่นพี่ รุ่นน้อง อาจารย์ของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และผู้สนใจ ในวันจันทร์ที่  3 กันยายน พ.ศ. 2561 เวลา 15.30-17.30 น. ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์ในการใช้ห้องคอมพิวเตอร์จาก ฝ่ายคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
 
การบรรยายครั้งนี้ เป็นเหตุการณ์ที่น่าชื่นใจในหลายๆ ประเด็น ตั้งแต่
 
ประเด็นที่ 1 การบรรยายนี้ เกิดจากความต้องการของตัวศิษย์เก่าที่ต้องการจะกลับมาแชร์ความรู้ที่ตนเองได้รับจากการทำงาน และการพัฒนาตัวเองมายาวนาน
 
ประเด็นที่ 2 มีความเข้าร่วมที่สนใจ ทั้งส่วนที่เป็นศิษย์เก่าที่ทำงานอยู่ในพื้นที่หาดใหญ่และบริเวณใกล้เคียง มานั่งแชร์ความรู้ร่วมกันอย่างสนุกนานกับรุ่นน้อง และอาจารย์ที่เข้าร่วม ถือเป็นการตอบแนวคิดของ Life Long Learning ได้ดี
 
ประเด็นที่ 3 เป็นการยืนยันความแข็งแกร่งของ Developer Community ในหาดใหญ่และพื้นที่ใกล้เคียง ทั้งในส่วนที่มีการเรียนรู้ และการนำไปใช้ซึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ระดับโลก และการร่วมมือกันในการแชร์ความรู้ และผลักดัน Community ให้ยั่งยืน
 
ทั้งนี้การบรรยายครอบคลุม Android Architecture Component ซึ่งกล่าวถึงสถาปัตยกรรมในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนมือถือระบบปฏิบัติการ Android ที่ได้รับการออกแบบเป็นอย่างดีจาก Google เพื่อให้นักพัฒนามีเครื่องมือในการพัฒนา Android Applicatrion ได้อย่างสะดวก และบำรุงรักษาได้ง่ายยิ่งขึ้น
 
จนไปถึง Kotlin Workshop ที่ทุกคนได้เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ ในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Kotlin ซึ่งเป็นภาษาสมัยใหม่ ที่ทำงานได้บน JVM (Java Virtual Machine) และถือเป็นภาษาเป็นทางการอีกภาษาหนึ่งที่จะถูกใช้ในการพัฒนาโปรแกรมบน Android (เดิมมีเฉพาะ Java) ซึ่งเป็นบรรยากาศสนุกสนาน ที่ผู้เข้าร่วม Workshop ได้ไปรับร่วมเฉลยโจทย์คำถามในแต่ละข้อ รับความรู้กลับบ้านไปเยอะทีเดียว
40650902 10212715520782810 1985931519767609344 o
 

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน 2561 เวลา 05.30 น. นักศึกษา CoE ชั้นปีที่ 3 จัดกิจกรรมพารุ่นน้อง CoE ปี 2 เดินขึ้นเขาคอหงส์

ซึ่ง เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกปี เพื่อทำความรู้จักระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้องและเพื่อนๆในชั้นปี มีรุ่นพี่และบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย

   ช่วงเวลา 06.00-10.00 น. เหล่านักศึกษาพากันไปเดินในเส้นทางขึ้นเขาคงหงส์ และแวะยังวัดมหาธาตุเจดีย์ ไตรภพ ไตรมงคล หรือ เจดีย์สแตนเลส ซึ่งเป็นจุดท่องเที่ยว
และ ได้เดินขึ้นไปยังยอดเขาคอหงส์ซึ่งเป็นที่ตั้งของ สถานีโทรคมนาทหาร เขาคงหงส์ เพื่อชมวิวบนยอดเขาและชมธรรมชาติ จากนั้นจึงเดินทางกลับ พักรับประทานอาหารเที่ยงที่ภาควิชาฯ
และ ทำกิจกรรมต่อในช่วงเย็น เพื่อให้รุ่นพี่ รุ่นน้องได้รู้จัก พูดคุย แลกเปลี่ยนกัน และได้แนะนำการเรียนและความเป็นอยู่ในระหว่างเรียนให้ดีขึ้น

นายอรรถสุทร ไตรสุวรรณ นักศึกษาระดับปริญญาเอก ร่วมทีมกับ ดร. สมชัย หลิมศิโรรัตน์ อาจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เข้าแข่งขัน Data Squad ในรายการแข่งขัน TechJam 2018 ระดับภูมิภาค ภาคใต้ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2561 ณ โรงแรมสยามออเรียนทัล สงขลา ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ เงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร

newsTechjamSouth2 n

67943

การแข่งขัน TechJam ( www.techjam.tech ) เป็นการแข่งขันที่เปิดกว้าง สำหรับบุคคลทั่วไป อายุ 15-60 ปี ไม่จำกัดระดับการศึกษาและสาขาอาชีพ ทีมผู้แข่งขันต้องแก้ไขโจทย์ปัญหาทาง IT ที่ท้าทาย แบ่งออกเป็น 3 ด้าน Code Squad, Data Squad และ Design Squad ผู้ชนะในระดับภูมิภาคทั้ง 4 ภูมิภาค จะได้รับคัดเลือกเข้าสู่การแข่งขันระดับประเทศต่อไป และอีก 16 ทีม จะคัดจากอันดับคะแนนจากทีมที่แข่งขันในระดับภูมิภาคทั้งหมด TechJam ในระดับประเทศ จะจัดขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2561 ทีมผู้ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 แสนบาท และได้ไปดูงานที่ Silicon Valley สหรัฐอเมริกา

TJ2018d

67933

67939

 

นายอรรถสุนทร  ไตรสุวรรณ และ ดร.สมชัย หลิมศิโรรัตน์  เข้าร่วมแข่งขัน TechJam 2018  ในรอบคัดเลือกระดับภูมิภาค ได้รับรางวัลอันดับที่ 2 ในประเภทการแข่งขันประเภท DATA Science ซึ่งเป็นประเภทการแข่งขันที่เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบทดสอบ ศึกษาฐานข้อมูลขนาดใหญ่และวิจัยโมเดล ข้อมูล 

ปัจจุบัน นายอรรถสุนทร  ไตรสุวรรณ  เป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์  และได้รับทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก แผนการเรียน  2.2  (จบปริญญาตรี – เรียนต่อปริญญาเอก) ในสาขาเดียวกันนี้ ศึกษาวิทยานิพนธ์ เรื่อง  “Optimization of deep learning model using a genetic algorithm for cell type classification in breast cancer microscopic images” ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และอยู่ในความดูแลของ อาจารย์ที่ปรึกษาหลักคือ ผศ.ดร.พิชญา  ตัณฑัยย์

นายอรรถสุนทร ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับทักษะความรู้ที่ใช้ และการพัฒนาตนเองสำหรับคนที่สนใจด้าน Data Science อย่างน่าสนใจ ดังนี้

- บรรยากาศการแข่งขัน Data Science เป็นอย่างไร /ทำไมจึงตัดสินใจลองลงแข่งขัน?

            ตอนแรกก็ไม่ได้คิดว่ามันจะดีอะไรมากนะครับ แต่พอไปจริงๆ คือ ดีมาก จัดงานได้มืออาชีพมากๆ มีทีมงานถ่ายภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ของกินเยอะมาก

ส่วน “ทำไมถึงลงแข่ง” ตอนแรกคิดว่า Thesis ที่ทำก็เป็นแนววิเคราะห์ข้อมูล แต่ไม่ใช้พวกการเงิน แต่เป็นพวกภาพซึ่งคิดว่าซับซ้อนกว่า มาแข่งพวกการเงินซึ่งส่วนใหญ่เป็นตัวเลขที่น้อยกว่า เลยคิดว่าโอกาศที่จะได้รางวัลน่าจะมีสูงครับ

- สำหรับการแข่งขันนี้ใช้ทักษะ หรือความรู้เรื่องอะไรบ้าง?

            หลักๆ ก็คือคณิตศาสตร์ครับ วิชาใน ป.ตรี พวก MATH I, MATH II แล้วก็สถิติ อันหลังนี้สำคัญมาก คือเป็นพื้นฐานของการวิเคราะห์พวกนี้เลยครับ

- ทักษะและความรู้เหล่านั้น กับ งานวิทยานิพนธ์ที่ทำ มีความสัมพันธ์กันอย่างไรไหม?

            งานวิจัยของผมก็ทำตัววิเคราะห์แยกแยะรูปเซลล์มะเร็ง ซึ่งปกติรูปภาพก็คือข้อมูลชนิดหนึ่ง ซึ่ง 1 pixel ประกอบด้วยสี 3 สี คือ แดง เขียว ฟ้า ในสัดส่วนที่ต่างกัน และรูป 1 รูปประกอบด้วย pixel จำนวนมาก เช่น 128 x 128 pixels ซึ่งก็คือจำนวนข้อมูลต่อ 1 รูป แต่การแข่งขันเขาครั้งนี้ จะให้ข้อมูลการเงิน ซึ่งเป็นข้อมูลต่อลูกค้า 1 คน ได้แก่ อายุ การใช้จ่าย ประเภทการใช้จ่าย แล้วให้แยกข้อมูลเป็นกลุ่มๆ ของลูกค้า ซึ่งคล้ายๆ กับงานผมที่ต้องแยกรูปของเซลล์ ว่าเป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่ จริงๆ ละ algorithm ในการแยกสองอย่างนี้มีพื้นมาจากสถิติ แต่เป็นสถิติขั้นสูง ถ้าอยากรู้แนะนำให้เรียนวิชา Pattern Recognition ของ อ.มนตรี แต่หลักๆ แล้วจะแยกงานประเภทไหนให้ได้ดีจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งนั้น ด้านการเงิน ยิ่งรู้เรื่องเกี่ยวกับการเงินมากยิ่งดี เซลล์มะเร็งก็เช่นกัน ยิ่งเรารู้ว่าแต่ละชนิดมันแตกต่างกันยังไง ก็ช่วยได้มากเลยครับ

- คิดว่า โจทย์วิจัย ระดับป.เอก ที่กำลังทำอยู่ มีความเชื่อมโยงกันกับโจทย์การแข่งขัน บ้างหรือไม่ และอย่างไร?

            อันนี้คล้ายๆ ข้อที่แล้วนะครับ คือ model หรือตัวแยกมีความคล้ายกัน แต่ด้วยรูปภาพเป็นข้อมูลที่ใหญ่ และมีความซับซ้อนมากกว่า เลยต้องอาศัย model ขนาดใหญ่ มีความซับซ้อน และเครื่องมือในการประมวลผลที่สูงขึ้นครับ

- มีอะไรแนะนำเพิ่มเติม สำหรับน้องนักศึกษาที่สนใจ ทาง Data science ในการพัฒนาตัวเองบ้าง?

            ตั้งใจเรียนวิชาสถิติกับ อ.ทศพร ให้เยอะๆ นะครับ เพราะมันสำคัญมาก ก่อนหน้านี้พี่ก็คิดว่าไม่ค่อยสำคัญมาก เลยโดดไปหลายคาบ แต่พอมาเรียนต่อ ปริญญาเอก แล้ว ต้องกลับไปนั่งศึกษาทบทวนใหม่ นอกจากนี้ถ้าสนใจจริงๆ แนะนำให้เรียน course online ในเว็บต่างๆ และอ่านบทความจาก blog เยอะๆ ครับ

 

 

วันที่ 24-26 สิงหาคม 2561 ผศ.ดร.วรรณรัช  สันติอมรทัต ร่วมเสวนาหัวข้อ การพัฒนา Smart City ในภาคใต้ตอนล่าง ในงาน Digital Thailand Big Bang Regional 2018 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัลหาดใหญ่ เพื่อเตรียมตัวก้าวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 การต่อยอดต้นแบบการพัฒนา Smart City จากจังหวัดภูเก็ตลงสู่พื้นที่สงขลา พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนสงขลา สร้างความร่วมภาครัฐ ภาคท้องถิ่น เอกชน และสถาบันอุดมศึกษา ทั้งด้านการท่องเที่ยว การปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมจากอุตสาหกรรม 3.0 สู่ 4.0 (Digital Transformation) ดึงดูดการลงทุนจากประเทศเพื่อนบ้านตามแนวทาง พัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) รวมถึงการนำดิจิทัลเทคโนโลยีเข้าสู่ภาคชุมชน การเกษตร เกษตรอุตสาหกรรม และพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ สงขลายังเป็นศูนย์กลางการศึกษาของภาคใต้ เป็นพื้นที่ผลิตทรัพยากรบุคคลทางด้านดิจิทัลที่สำคัญของภูมิภาค เพื่อต่อยอดดิจิทัล Startups ต่อไป
โดยภายในงานมีนิทรรศการ : 
- IoT and Smart City Zone: นิทรรศการต้นแบบ Smart City จังหวัดภูเก็ต เพื่อต่อยอดการพัฒนา Smart City Songkla พร้อมแสดงงานวิจัยด้าน Smart City จาก มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์ และพันธมิตร
- Digital Startups and Transformation Zone: รวบรวม Digital Providers ในพื้นที่ภาคใต้ นำ Solutions ต่างๆ เพื่อทำงานร่วมกับ SMEs ในการนำนวัตกรรมดิจิทัลเข้ามาสู้รูปแบบธุรกิจ
- e-Sports ROV Zone: การแข่งขัน eSport Tournament สงขลา เพื่อชิงความเลิศด้าน eSport
S 11796782
63735
59555
big bang hdy 180828 0038
big bang hdy 180828 0031
big bang hdy 180828 0035
big bang hdy 180828 0014

ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ขอแสดงความยินดีกับนายวศิน ภัสสรภากร ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ชมเชย ระดับปริญญาโท ประจำปี 2560 โดยมี รศ.ดร.สินชัย  กมลภิวงศ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

ภายใต้วิทยานิพนธ์เรื่อง “Ontology-based Framework for Interactive Self-Assessment of e-Health Applications” ในกลุ่มวิทยาศาสตร์กายภาพ

เพื่อเป็นการสนับสนุน ส่งเสริมให้เกิดงานวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพทั้งในระดับปริญญาโท และ ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยบัณฑิตวิทยาลัย มีการคัดเลือกผู้เหมาะสมได้รับรางวัล จากการเสนอชื่อจากคณะต่างๆ   ทั่วทั้งมหาวิทยาลัยเป็นประจำทุกปี  และในปี 2560 นี้ วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลชมเชย ระดับปริญญาโท ในกลุ่มวิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยานิพนธ์เรื่อง “Ontology-based Framework for Interactive Self-Assessment of e-Health Applications” โดยมี นายวศิน ภัสสรภากร เป็นนักศึกษาผู้วิจัยวิทยานิพนธ์ ภายใต้อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร.สินชัย กมลภิวงศ์    

ปัจจุบัน หลังจากสำเร็จการศึกษา นายวศิน ได้เข้าทำงานเป็นนักวิจัย สถานวิจัยเทคโนโลยีเครือข่าย (Centre for Network Research:CNR) ซึ่งเป็น Lab ที่เขาได้เข้ามาศึกษา ทำโครงงาน ศึกษาวิจัยวิทยานิพน์ร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาและคณาจารย์ ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี และ ปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์  

นายวศิน ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับความท้าทายในการเรียนปริญญาโท และ การข้ามผ่านความท้าทายเหล่านั้น อย่างน่าสนใจว่า “ความท้าทายสำหรับการเรียนคือ การหาข้อและขอบเขตในการทำงาน ส่วนการที่เราจะเอาชนะ และข้ามผ่าน มาได้นั้น เราต้องอ่าน review paper บวกกับคุยกับอาจารย์​ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เราศึกษาอยู่บ่อยๆครับ ถ้าจะเน้นปฎิบัติ เราก็หยิบ paper ล่าสุดมาสักตัว แล้วทำตามมันเลย ทำแบบนี้เราจะเห็นที่เค้ายังขาด แล้วเราสามารถปรับปรุงมันได้ง่าย”

และขอฝากข้อคิดอะไร สำหรับคนที่คิดว่าอยากเรียนป.โท หรือ กำลังเรียนอยู่ว่า “พยายามบีบขอบเขตงานของตัวเองให้เร็วที่สุดครับ ขอบเขตเราไม่ต้องกว้าง แต่เอาเป็นเรื่องเน้นๆ ที่เราคิดว่ามีประโยชน์สามารถวัดค่าได้ง่าย แล้วเราจะเขียน paper ได้ง่าย”

39588827 270992806839408 3542358355655786496 n

Page 20 of 22
Go to top