วันศุกร์ ที่ 21 มกราคม 2565  เวลา 08.00 ถึง 09.00 น.  ขอเชิญร่วมรับฟังการเสวนาพิเศษ  55 ปี วิศวฯ ม.อ. รูปแบบ ออนไลน์ ฟรี โดย  คุณนัสซัล  หลีหาด  ศิษย์เก่าสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์  คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  Solution Cloud Architect  บริษัท Alibaba Intelligence, Thailand  ให้เกียรติมาบรรยายความรู้เทคโนโลยี แนวโน้มในอนาคต และประสบการณ์การทำงาน แก่นักศึกษารุ่นน้อง และผู้สนใจทั่วไป      ผู้สนใจ สแกน QR Code เข้า Gather Town ได้  หรือรับชมผ่าน facebook LIVE ตามสะดวก



⭕️ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดเสวนาพิเศษเนื่องในโอกาสครบรอบ 55 ปี วิศวฯ ม.อ. ในหัวข้อ "เทคโนโลยี AI ผ่านมุมมองทางกฎหมาย (AI Technology Through a Legal Perspective)" วันที่ 23 ธันวาคม 2564 เวลา 13.00-15.00 น.‼️
ในการจัดเสวนาในครั้งนี้ เพื่อให้ความรู้และวิเคราะห์นิยาม สถานะทางกฎหมาย ความรับผิดทางละเมิดของ AI และแนวโน้มของกฎหมายในอนาคต เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถมีความเข้าใจเบื้องต้นถึงเรื่องดังกล่าว ไม่เฉพาะประเด็นสำคัญในทางกฎหมายเท่านั้น แต่ยังมีประเด็นสำคัญทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะเข้ามาเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความรู้ในด้านต่าง ๆ
♦️ วิทยากรในการร่วมเสวนา
1) รศ.ดร.มนตรี กาญจนะเดชะ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2) ดร.อนันท์ ชกสุริวงศ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
3) ดร.พีรพัฒ โชคสุวัฒนสกุล อาจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4) ผศ.สุรินรัตน์ แก้วทอง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
♦️ ผู้ดำเนินรายการ
1) รศ.ดร.พิชญา ตัณฑัยย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2) อ.พงค์ศักดิ์ เจ๊ะพงค์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
☑️ ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมรับฟัง ฟรี!! ผ่านระบบสื่ออิเลคทรอนิกส์ Zoom Meeting
Meeting ID : 999 001 7094

AI หนึ่งในเทรนด์ใหม่ของโลก...เรื่องต้องรู้ โดยวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ มอ.

ขอเชิญนักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป ฟังบรรยายพิเศษ เนื่องในโอกาสครบรอบ 55ปี-วิศวะ มอ.
เรื่อง "Big Data and AI: Krungthai Perspective"
วันที่ 9 ธันวาคม 2564 เวลา 13.30 – 15.00น (online ฟรี!!)
วิทยากร รศ.ดร.วุฒิชัย วงษ์ทัศนีย์กร
ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.เพ็ชรัตน์ สุริยะไชย อาจารย์ประจำหลักสูตร AI

สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ส่งชุดปฏิบัติการฮาร์ดแวร์ให้นักศึกษาถึงบ้าน

“ฝึกปฏิบัติ หัดทดลอง ส่งของถึงบ้าน ต้านภัยโควิด”

วันที่ 11 สิงหาคม 2564 รศ.ดร. ธนิต เฉลิมยานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์  และ ผศ.ดร. นิคม สุวรรณวร หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์  พร้อมด้วย ผศ.ดร. ปัญญยศ ไชยกาฬ ประธานหลักสูตร รวมถุึง บุคลากรของวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ร่วมจัดกิจกรรมส่งชุดทดลองปฏิบัติการฮาร์ดแวร์ให้แก่นักศึกษาในระดับชั้นปีที่ 2 และ 3 สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 210 ชุด เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ปฏิบัติการด้านฮาร์ดแวร์จากบ้านได้ สนับสนุนให้การเรียนการสอนแบบออนไลน์จากบ้านในยุคโรคระบาดโควิด 19 ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้มีการออกแบบ คิดค้น และผลิตชุดปฏิบัติการด้านฮาร์ดแวร์ ด้วยเทคโนโลยีใหม่ ให้มีขนาดเล็ก และรองรับการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ 3 ได้แก่ ชุดปฏิบัติการ Digital Experiment Board และ ชุดปฏิบัติการ FPGA Development Board ตามลำดับ เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ครบตามเนื้อหาของหลักสูตร

ชุดปฏิบัติการ Digital Experiment Board รองรับรายวิชาปฏิบัติการ 240-202 Computer Engineering Hardware Laboratory I ซึ่งประกอบด้วย 9 หัวข้อด้านอิเล็กทรอนิค ได้แก่ Circuit Simulator, PCB design I, PCB design II, Clock Generator, Transistor Amplifier, NodeMCU Wi-Fi Connection, Intro to Electronic Measurement, Intro to Arduino, Analog interfacing และ RC Servo ตามลำดับ

ชุดปฏิบัติการ FPGA Development Board รองรับรายวิชาปฏิบัติการ 240-301 Advanced Computer Engineering Laboratory I ซึ่งประกอบด้วย 4 หัวข้อปฏิบัติการด้าน FPGA ได้แก่ Introduction to FPGA design using Verilog, Stop Watch, Easy Sound Generator และ Music Box using FPGA

การพัฒนาชุดปฏิบัติการดังกล่าวนำทีมโดย ผศ.ดร. ปัญญยศ ไชยกาฬ ประธานหลักสูตร คุณอนุชา รัตนะ ช่างอิเล็กทรอนิกส์ (ผู้ดูแลห้องปฏิบัติการฮาร์ดแวร์) คุณไพบูลย์ บุญถวิล ช่างอิเล็กทรอนิกส์ (ผู้ดูแลห้องปฏิบัติการฮาร์ดแวร์) และ คุณอนันต์ นิลโกสีย์ ช่างไฟฟ้า

บุคคลกรของสาขาวิชาร่วมใจผลิตและส่งมอบให้นักศึกษาอย่างมุ่งมั่นและหวังว่าการเรียนในยุคออนไลน์นี้จะยังมีประสิทธิภาพมากที่สุด




โครงการเสริมสร้างและ ยกระดับทักษะบุคลากรด้าน Data Engineering ภายใต้การสนับสนุน DEPA Digital Manpower Fund
สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

เนื้อหาการอบรม
1. Introduction to Data Engineering
2. Relational database / NoSQL / Data Warehouse Concept
3. Basic ETL and data cleansing
4. Cloud data storage and backup process

กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน
- บุคลากรจากหน่วยงานรัฐ/ รัฐวิสหากิจ โดย 1 หน่วยงาน ส่งได้ไม่เกิน 5 คน
- ผู้เข้าร่วมต้องมีความรู้เรื่องฐานข้อมูล และทักษะภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ภาษาใดก็ได้) โดยผ่านการสอบคัดเลือกเบื้องต้นแบบ online
- ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าอบรม ต้องวางมัดจำ คนละ 1,000 บาท โดยโครงการจะคืนให้เมื่อเข้าครบ 80% และร่วมการสอบเพื่อวัดผลการอบรม
- ได้รับ certificate of Participation เมื่อเข้าร่วมครบตามระยะเวลา 80% และCertificate of Achievement เมื่อมีผลสัมฤทธิ์ไม่น้อยกว่า 70% ตามเกณฑ์ประเมินสนใจเข้าอบรม 

 

กิจกรรม

วันที่ และ รูปแบบ

รับสมัครผู้สนใจเข้ารับการอบรมผ่านระบบออนไลน์

บัดนี้ – 15 มิถุนายน 2564

สอบออนไลน์เพื่อคัดเลือกผู้เข้าอบรม

19 – 20 มิถุนายน 2564

ประกาศผลผู้มีสิทธิ์เข้ารับการอบรม

ภายในวันที่ 27 มิถุนายน 2564

อบรมจริง ผ่านระบบ online

เฉพาะวันเสาร์ อาทิตย์  ช่วงเวลา 09.00 – 17.00 น.
3 – 4  และ 10 – 11 และ 17 – 18 กรกฎาคม 2564

ทดสอบวัดความสัมฤทธิ์และคืนเงินมัดจำ

18 – 24 กรกฎาคม 2564

ส่งประกาศนียบัตร certificate of Participation และ/หรือCertificate of Achievement  ตามเงื่อนไขที่กำหนด

สิงหาคม 2564

วัตถุประสงค์โครงการเพื่อเสริมสร้างและยกระดับความรู้และทักษะในด้าน Data Engineer ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีสมรรถนะและประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อยลง

  1. เป้าประสงค์ของการอบรม
    1. เพื่อเรียนรู้และเข้าใจพื้นฐานเรื่องวิศวกรรมข้อมูล การให้บริการข้อมูล หลักการการกำกับดูแลข้อมูลและระบบคลังข้อมูล
    2. เพื่อให้สามารถติดตั้งและตั้งค่าพื้นฐานสำหรับระบบฐานข้อมูลได้
    3. เพื่อให้สามารถทำงานในขั้นตอนของกระบวนการ ETL และกระบวนการ Backup ข้อมูล

    คะแนนในการสอบ (Quiz)

    คิดเป็น 70%

    คะแนนแบบฝึกหัด (Assignment)

    คะแนน Post-test

    คิดเป็น 30%

 

ประโยชน์ที่จะได้รับ
ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร เสริมสร้างวิสัยทัศน์ภายใต้กรอบเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำงานขององค์กร
ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆในสังคมยุคดิจิทัล และได้แนวคิดและแรงบันดาลใจในการสร้างความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในสังคมยุคดิจิทัล
ผู้เข้าอบรมสร้างเครือข่ายด้าน IT ระหว่างกัน ได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการประสานการทำงานและกำหนดนโยบายของหน่วยงานในลักษณะบูรณาการร่วมกัน

การมอบใบประกาศนียบัตร/หนังสือรับรองการเข้าอบรม
มี 2 ประเภทคือ
1) Certificate of Participation
o ผู้เข้าอบรมจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาจัดกิจกรรมทั้งหมด
2) Certificate of Achievement
o ผู้เข้าอบรมจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาจัดกิจกรรมทั้งหมด และได้คะแนนในการประเมินผลการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70



การลงทะเบียนทาง online สำหรับผู้สนใจเพื่อเข้าคัดเลือกผ่านการสอบ online เข้าอบรม Data Engineering *ในขั้นนี้เป็นการรับสมัครเพื่อนำไปขึ้นชื่อเป็นผู้มีสิทธิ์สอบคัดเลือกแบบonline ให้ได้ผู้เหมาะสมใจเข้าร่วมโครงการฯ อบรมฟรี 42 ชั่วโมง*

 

 

 

ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ขอเชิญนักเรียนระดับมัธยมศึกษาเข้าร่วม โครงการ “To Be CoE" 

ระหว่างวันที่ 11 – 15 พฤษภาคม 2563

หัวข้อการอบรม (เลือกเพียง 1 หัวข้อเท่านั้น)

1.Internet of things (IoT) 
2.Network/Security
3.Image processing 
4.AI/Machine Learning
5.Embedded System
6.Information Information InformationInformation
7.Robot
8. Mobile application

วิธีการสมัคร
เปิดรับสมัครโครงการ ตั้งแต่บัดนี้ – 3 เมษายน 2563
ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก วันที่ 16 – 17 เมษายน 2563
ผ่านทาง www.coe.psu.ac.th www.coe.psu.ac.th
ชาระค่าสมัคร วันที่ 20 – 24 เมษายน 2563
ช่วงดาเนินงาน วันที่ 11 – 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ค่าสมัครเข้าร่วมโครงการสาหรับผู้ผ่านการคัดเลือก คนละ 2,000 บาท
ปิดรับสมัครวันที่ 3 เมษายน 2563

**อย่างไรก็ตาม ทางผู้จัดจะมีการติดตามสถานการณ์ covid-2019 เป็นระยะ และ การดำเนินการ/การเปลี่ยนแปลงใดๆ จะคำนึงถึงสุขภาพ และความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมกิจกรรม เป็นสำคัญ**


download ใบสมัคร และ โปสเตอร์ (.pdf file) ได้ที่ 
https://cloud.eng.psu.ac.th/s/y28L5y4nhEOF9S2

Page 16 of 22
Go to top