รองศาสตราจารย์ ดร. ทวีศักดิ์ เรืองพีระกุล อาจารย์จากสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ นำเสนองานวิจัยแบบ Poster เรื่อง Optimization of Reaction Parameters Influences on Production of Bio-oil from Fast Pyrolysis of Oil Palm Empty Fruit Bunch Biomass in a Fluidized Bed Reactor ที่งานประชุมทางวิชาการ The IIER International Conference - 2022 ที่เมือง Hamilton ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 6-7 ธันวาคม 2565
คุณโกสินทร์ พัตรานนท์ วิศวกรอาวุโส (Senior Engineer) จาก Technical Training Group, Software Development Department, Toyota Tsusho Nexty Electronics (Thailand) Co. Ltd. หารือความร่วมมือในโครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ของฝ่ายฝึกอบรมการพัฒนาซอฟต์แวร์ กับทีมบริหารสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ รศ.ดร. พิชญา ตัณฑัยย์ หัวหน้าสาขาวิชา และผศ.ดร. ปัญญยศ ไชยกาฬ รองหัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และประธานหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และรองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ รศ.ดร. มนตรี กาญจนเดชะ ในวันที่่ 15 ธันวาคม 2565
ศิษย์เก่าสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ นายธีรศักดิ์ ขอพุทธพรชัย (COE รุ่นที่ 22) และนายชัยรัตน์ สุขพันธุ์ (COE รุ่นที่ 25) แนะนำ SDA Careers ในรายวิชาโมดูล 240-229 Software defined architecture engineer module ในวันที่ 8 ธันวาคม 2565 16.00-19.00 น. โดยมี รศ.ดร. พิชญา ตัณฑัยย์ เป็นผู้ดำเนินรายการ
ประวัติศิษย์เก่า
นายธีรศักดิ์ ขอพุทธพรชัย (COE รุ่นที่ 22)
- นักพัฒนาและที่ปรึกษาจากธอทเวิร์ค (ประเทศไทย) ที่มีประสบการณ์พัฒนาซอฟต์แวร์ในหลากหลายอุตสาหกรรม
- ผู้มีความหลงไหลในการแก้ปัญหาด้วยความเชี่ยวชาญและสนใจทางด้านเทคโนโลยี การสร้างโปรดักซ์ และการพัฒนาทีม
นายชัยรัตน์ สุขพันธุ์ (COE รุ่นที่ 25)
- System Engineer บริษัทอินโนเวทีฟ เอ็กซ์ตรีมิสต์ จำกัด
รองศาสตราจารย์ ดร. พิชญา ตัณฑัยย์ (IEEE Senior Member) หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เดินทางไปปฏิบัติงาน ณ ประเทศ มาเลเซีย เพื่อจัดประชุมกรรมการอำนวยการนานาชาติ (International Steering Committee and International Advisory Committee หรือ ISC/IAC) ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการนานาชาติ (Chair of ISC/IAC) ของงานประชุมวิชาการนานาชาติ ISPACS (International Symposium on Intelligent Signal Processing and Communication Systems) และเข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีและกิจกรรมต่าง ๆ ของงานประชุมนานาชาติ ISPACS 2022 มีกำหนด 4 วัน ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 ที่ โรงแรม G GURNEY HOTEL ปีนัง ประเทศ มาเลเซีย
ทีม Alpha จากสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผ่านเข้ารอบรอบชิงชนะเลิศ การแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สำหรับ”ผู้หญิง”และ“เพศสภาพเป็นหญิง”
สมาชิกทีม:
- นางสาวณัฐณรินทร์ โจวรรฐะ รหัสนักศึกษา 6410110144
- นางสาวพาขวัญ เสนาคชวงศ์ รหัสนักศึกษา 6410110353
อาจารย์ที่ปรึกษา:
รองศาสตราจารย์ ดร. แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะ
รายละเอียดงาน:
การแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สำหรับ”ผู้หญิง”และ“เพศสภาพเป็นหญิง” (Women: Thailand Cyber Top Talent 2022) ครั้งแรกของประเทศไทย จัดขึ้นโดย สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ร่วมกับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด โดยการสนับสนุนจาก ศูนย์ประสานงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ด้านโทรคมนาคม (TTC-CERT) และ บริษัท สยามถนัดแฮก จำกัด โดยรอบแรกจัดการแข่งขันไปเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2565 ในรูปแบบออนไลน์
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดการแข่งขันหุ่นยนต์เคลื่อนที่บนสนามจำลอง ภายใต้โจทย์ โรงเรือนฟาร์มไก่ ภายใต้โครงการ CPF Young Software Developer Program เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 241-251 ชุดวิชาปัญญาประดิษฐ์เพื่อการควบคุมหุ่นยนต์ ของสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ภาคการศึกษาที่ 1/2565
ผู้เข้าร่วม
นักศึกษาผู้ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 241-251 จำนวน 26 คน
ทีมอาจารย์ผู้สอน จำนวน 3 คน
- ดร.อนันท์ ชกสุริวงค์
- ผศ.ดร.ธเนศ เคารพาพงศ์
- ดร.รัฐชัย วงศ์ธนวิจิต
และทีมวิศวกรจากบริษัทซีพีเอฟ ผู้ให้โจทย์และคำปรึกษา
การจัดการแข่งขัน
การแข่งขันแบ่งเป็น 3 รอบ (สนาม) และสนามที่ 3 จัดเมื่อวันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม 2565 โดยเป็นการจัดการแข่งขันที่ห้อง R300 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ อาคาเรียนและปฏิบัติการรวม (ตึกหุ่นยนต์) คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมีการ Live เพื่อให้ทีมวิศวกรของบริษัท CPF ผู้ร่วมดูแลตาม โครงการ CPF Young Software Developer Program ร่วมให้คำแนะนำนักศึกษาแต่ละทีม
ผลการแข่งขัน
สนามที่ 1 --------------------------------- |
สนามที่ 2 --------------------------------- |
สนามที่ 3 --------------------------------- |
|
รางวัลที่ 1 |
นายพงศ์พิพัฒน์ ขุนชิต นางสาวปทิตตา สุขสมบูรณ์ นายกฤตนัย ชูเกลี้ยง --------------------------------- |
นายพงศ์พิพัฒน์ ขุนชิต นางสาวปทิตตา สุขสมบูรณ์ นายกฤตนัย ชูเกลี้ยง --------------------------------- |
นายพงศ์พิพัฒน์ ขุนชิต นางสาวปทิตตา สุขสมบูรณ์ นายกฤตนัย ชูเกลี้ยง --------------------------------- |
รางวัลที่ 2 |
นายฎอน อังศุภาพงศ์ นางสาวเจณิตา รัตนกันทา นายธนกฤต ฉิมพลี ปักษ์ --------------------------------- |
นายกรวิชญ์ อินทมุสิก นางสาวณิชา วิกรมโรจนานันท์ นางสาวศศิธร ศักดิ์แก้ว --------------------------------- |
นายกรวิชญ์ อินทมุสิก นางสาวณิชา วิกรมโรจนานันท์ นางสาวศศิธร ศักดิ์แก้ว --------------------------------- |
รางวัลที่ 3 |
นายศิวกร โรจนกรินทร์ นายอาริฟีน หมากสตูน นางสาววันวิสาข์ ใจเอื้อ |
นายจตุรวิชญ์ ค่อฉุ้น นางสาวกุลวดี สุทธจิตร นางสาวบุณยวีร์ ละอองพันธ์ |
นายจตุรวิชญ์ ค่อฉุ้น นางสาวกุลวดี สุทธจิตร นางสาวบุณยวีร์ ละอองพันธ์ |
งบประมาณ
โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจำนวน 50,000 บาท จากบริษัทซีพีเอฟ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
CPF Young Software Developer Program (YSDP)
YSDP เป็นโครงการเพื่อการ เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาในประเทศไทยในด้าน Programming ให้มีความพร้อมก่อนก้าวออกจากสถานศึกษาเข้าสู่โลกของการทำงาน
เพื่อการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาในประเทศไทยในด้าน Programming ให้มีความพร้อมก่อนเข้าสู่โลกของการทำงาน ผ่านการปฏิบัติและฝึกฝนประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะจากห้องเรียนมาสู่การแก้โจทย์ธุรกิจจริง ผ่านความร่วมมือกับบริษัทซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ทั้งในด้านเงินสนับสุนนการศึกษารายวิชา และการให้โจทย์จากการทำงานจริง รวมถึงการได้รับความร่วมมือจากฝ่ายวิศวกรรม บริษัทซีพีเอฟ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมให้คำปรึกษาดำเนินโครงการ
วัตถุประสงค์โครงการ
1. สร้างประสบการณ์จริงเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ตลาดแรงงานในอนาคต
2. สร้างแรงบันดาลใจ และรางวัลในการบรรลุเป้าหมาย
3. ฝึกกระบวนการคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหา จากกรณีศึกษาของธุรกิจ โดยมีโค้ชให้คำแนะนำ
4. ร่วมค้นหาและพัฒนาศักยภาพในกลุ่มนักศึกษาผ่านการลงมือทำจริง